เมนู

8. สังโยชนสูตร


[8] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ 7 ประการนี้ 7 ประการ
เป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี 1 ความยินร้าย 1 ความเห็นผิด
1 ความสงสัย 1 มานะ 1 ความกำหนัดในภพ 1 อวิชชา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ 7 ประการนี้แล.
จบ สังยชนสูตรที่ 8

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ 8


สังโยชนสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุนยสญฺโญชนํ ได้แก่ กามราคสังโยชน์. ความจริง
สังโยชน์ทั้งหมดนี้นั่นแหละ พึงทราบว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องผูก. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏอย่าง
เดียว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ 8

9. ปหาสูตร


[9] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ 7 ประการ 7 ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์
คือ ความยินดี 1 ความยินร้าย 1 ความเห็นผิด 1 ความสงสัย 1
มานะ 1 ความกำหนัดในภพ 1 อวิชชา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ 7 ประการนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ ความยินดีเสียได้
ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิด
ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ สังโยชน์
คือ ความเห็นผิด ฯลฯ สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ สังโยชน์คือ
มานะ ฯลฯ สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯล สังโยชน์คืออวิชชา
เสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้
เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหา
ได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว
เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ.
จบสูตรที่ 9